ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

ข้อเสนอต่อแนวทางการทำงานภาค “เหนือบน-เหนือล่าง”ในปี ๒๕๕๕

ข้อเสนอต่อแนวทางการทำงานภาค “เหนือบน-เหนือล่าง”ในปี ๒๕๕๕

โดย คุณพลากร  วงศ์กองแก้ว  ผู้ช่วยผู้อำนวยการ

เวทีสัมมนาประจำปี พอช.ภาคเหนือ วันที่ ๑๘-๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔ ณ ระวิ

วารีรีสอร์ท  จ.เชียงใหม่

๑.การทำงานภายใต้สถานการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วม
·       พอช.ควรให้ความสำคัญและกำหนดเป็นแผนในการแก้ปัญหาภัยพิบัติ โดยมีแนวทาง คือ การแก้ปัญหาระยะเร่งด่วน , การแก้ปัญหาระยะยาว โดยการสร้างกลไกเชื่อมโยงขบวนเครือข่ายในการแก้ปัญหาในระดับภูมินิเวศ , สร้างขบวนการจัดการปัญหาโดยคนในพื้นที่ ,ใช้กลไกเชิงวัฒนธรรมในการหนุนช่วย , การสื่อสารสาธารณะ ,วางแผนการจัดการปัญหาที่เชื่อมโยงทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ
·       กำหนดแผนการฟื้นฟูหลังสถานการณ์น้ำท่วมผ่านไป ทั้งแผนระยะยาวและแผนความร่วมมือกับเครือข่ายภาคี
·       พัฒนากระบวนการทำงานเป็นทิศทางการพัฒนาที่เป็นระบบในทุกมิติ คือ ระยะเร่งด่วน ,ระยะฟื้นฟู,ระยะยาวพัฒนาต่อเนื่อง
๒.บทบาทของเจ้าหน้าที่ พอช.ภายใต้การจัดปรับโครงสร้างใหม่
·       บทบาทใหม่ของผู้จัดการภาค :
o   มีวิธีคิดที่กว้างกว่าเรื่องของสถาบันฯ ไม่ติดอยู่กับการทำงานเพื่อตอบตัวชี้วัด กพร.เพียงอย่างเดียว แต่มีขบวนการเชื่อมโยงกับภาคีพัฒนาอื่นๆ เช่น สช., สสส.,สปสช. ฯลฯ
·       บทบาทใหม่ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการชุมชน(ปก.) :
o   การเชื่อมร้อยการทำงานกับภาคีประชาสังคมเพื่อสร้างพลังในการทำงาน
o   เกาะติดสถานการณ์พื้นที่ สถานการณ์นโยบาย และสถานการณ์การทำงาน
o   ขับเคลื่อนงานในบริบทที่ “เล็กแต่ลึก”ยึดพื้นที่เป็นหลัก รู้จักพื้นที่ทั้งหมด ไม่แยกพื้นที่เมืองหรือชนบทแต่ทำงานเชื่อมโยงกัน
o   พัฒนาบทบาทการทำงานในเชิงประสานเครือข่ายภาคีให้เข้มข้นมากขึ้น  เพื่อเข้ามาหนุนเสริมการทำงานระดับพื้นที่
·       บทบาทร่วมในระดับภาค
o   สร้างพื้นที่ร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้านให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยไม่ต้องทำกว้างแต่ทำลึก ให้เป็นพื้นที่กลางในการทำงาน
o   “จัดสมดุล”การทำงานระหว่าง พอช.กับขบวนองค์กรชุมชน  โดยจะต้องจัดให้มี “เวทีพูดคุยการออกแบบการทำงานร่วมให้เกิดสมดุล”
o   “ผสมผสานการทำงานระหว่างพื้นที่เหนือบน และ เหนือล่าง” ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหนุนช่วยกันอย่างต่อเนื่อง
·       บทบาทสำนักงานภาค
o   จำเป็นต้องจัดตั้งสำนักงานให้เข้าถึงและใกล้ชิดกับพื้นที่ทำงาน
o   ชาวบ้านสามารถเข้าถึงได้ง่าย ประสานงานได้ง่าย
o   คำนึงถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
·       บทบาททีมสนับสนุนจากส่วนกลาง
o   จะต้องทำงานลงพื้นที่และหนุนช่วยเจ้าหน้าที่ภาค เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนงานในจังหวัดกับภาค
o   มีบทบาทในการสร้างเครื่องมือใหม่ในการทำงานพัฒนา เช่น สภาองค์กรชุมชน,ระบบข้อมูลชุมชนท้องถิ่น,แผนชุมชน ฯลฯ
o   ทำงานเป็นทีมเดียวกับเจ้าหน้าที่ภาคและชาวบ้านในพื้นที่
·       แผนในระยะไตรมาสแรกช่วงจัดปรับโครงสร้าง
o   การจัดระบบทีม : จะต้องวางระบบการทำงานเป็นทีม ซึ่งทั้งเหนือบนและเหนือล่างจะต้องจัดทีมให้เกิดความชัดเจนและลงตัว
o   การทำงานของเจ้าหน้าที่ ต้องเน้นหนักที่จังหวัด  สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงระหว่างจังหวัดได้
o   ทำงานสนับสนุนองค์กรชุมชนได้อย่างมีทิศทาง มีเป้าหมายที่มากกว่าติดอยู่กับเรื่องตัวชี้วัด กพร.
o   การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบันฯ เจ้าหน้าที่จะต้องมองให้ทะลุถึงการทำงาน “โครงสร้างเชิงเปลี่ยนแปลง”ไม่ติดอยู่เรื่องการจัดปรับคนทำงาน
๓.ระบบพื้นที่ใหม่
(๑)สร้างระบบทีมในการทำงานร่วมกับจังหวัด
·       ทีม ปก.งานพื้นที่ : สร้างขบวนการทำงานลงตรงถึงพื้นที่
·       ทีมสำนักงาน : สร้างการทำงานร่วม โดยพัฒนาศักยภาพชาวบ้านให้สามารถบริหารจัดการได้เองในจังหวัด เช่น งานเบิกจ่าย ,งานระบบข้อมูล
(๒)สร้างภาคีในการเปลี่ยนแปลง โดยเชื่อมโยงการทำงานกับภาคีเพื่อหนุนเสริมการสร้างพลัง
(๓)สร้างระบบพื้นที่ยุทธศาสตร์ตามบริบทนิเวศวัฒนธรรม  โดยพื้นที่ระดับตำบล จังหวัด และภูมิเวศ จะต้องเชื่อมโยงพื้นที่ทำงานร่วมกันทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ  เช่น ภูมินิเวศลุ่มน้ำ

๔.การทำงานเชิงปฏิรูป
·       ในระดับพื้นที่  เน้นการทำงานภายใต้การเมืองใหม่  จะต้องยกระดับให้เกิดข้อเสนอต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง โดยมี “พื้นที่กลาง”ในการขับเคลื่อนงานที่เชื่อมโยงคนทุกกลุ่ม ทุกส่วน
·       ยกระดับงานประเด็นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม
·       ปฏิรูประบบข้อมูล โดยทุกจังหวัดจะต้องมีข้อมูลที่องค์กรชุมชนต้องการใช้และนำไปใช้เพื่อการพัฒนาโดยไม่ยึดติดอยู่กับระบบข้อมูลของ พอช. ทั้งนี้จะต้องนำข้อมูลไปใช้ในการจัดแผนงานพัฒนาของพื้นที่ รวมถึงพัฒนาศักยภาพชาวบ้านให้สามารถบริหารจัดการได้เอง
·       งานสำนักงาน จะต้องออกแบบการทำงานร่วมกับพื้นที่ให้เกิดรูปธรรม
·       องค์ประกอบการทำงานปฏิรูปใหม่ทั้งพื้นที่เมืองและชนบท : (๑) จะต้องมีงานพื้นที่รูปธรรมที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง (๒) มีคนทำงานในพื้นที่ที่มีศักยภาพ (๓)มีการจัดการระบบข้อมูลที่เท่าทันสถานการณ์และตอบสนองการนำไปใช้ (๔)มีแผนงานที่ตอบยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองได้อย่างแท้จริง
ข้อเสนอร่วมต่อสำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน
๑.      งานบ้านมั่นคง
·       ระบบบริหารจัดการ ควรจัดระบบความชัดเจนเรื่อง “คนทำงาน”ทั้งทีมข้อมูล,ทีมเบิกจ่าย  ส่วนทีมปฏิบัติการพื้นที่ให้มีทีม ปก.หนุนเสริมการทำงานร่วมกัน  โดยที่ประชุมเสนอให้มีการนำไปหารืออีกครั้งหลังมีความชัดเจนจากสำนักบ้านมั่นคง
·       การทำงานในเชิงคุณภาพ จะต้องกำหนดให้เป็นจุดเน้นสำคัญในการทำงานในทิศทางข้างหน้า
·       กลไกโครงสร้าง  เสนอให้เปิดพื้นที่การทำงานทั้งเหนือบนและเหนือล่างที่ชัดเจน
๒.      งานที่ดินทำกิน
·       กระบวนการทำงานจะต้องเชื่อมกับภาคประชาสังคม ให้มีบทบาทในการทำงานในพื้นที่   โดย พอช.มีบทบาทในการกำกับทิศทางให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
๓.      กระบวนการทำงาน
·       ควรปรับให้สอดคล้องกับโครงสร้างใหม่   เน้นให้เจ้าหน้าที่ออกแบบการทำงานร่วมกับชาวบ้านในขบวนจังหวัด ให้บทบาทขบวนจังหวัดเป็นผู้ขับเคลื่อนงาน  ซึ่งที่ประชุมเสนอให้มีการนำข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อเปิดเวทีพูดคุยกับขบวนจังหวัดในทุกประเด็นงาน
·       บทบาทคนทำงานหนุนเสริม  เสนอให้บริหารจัดการเบ็ดเสร็จที่ภาค , ทีมสถาปนิก ออกแบบการทำงานให้มีบทบาทในทำงานที่จังหวัดเป็นหลัก
·       ในขบวนจังหวัด  : เป็นกลไกที่มีพื้นที่กลาง ให้เป็นเวทีพูดคุยและออกแบบการทำงานร่วมกัน
·       ในขบวนภาค : เป็นกลไกที่เป็นเวทีพูดคุยกระบวนการทำงานที่เชื่อมโยงกันตั้งแต่ระดับพื้นที่และจังหวัด
๔.      บทบาทของทีมสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน
·       ในจังหวะก้าวไตรมาสแรก เสนอให้มีเวทีพูดคุยร่วมกับทีมสนับสนุนขบวนฯทั้งหมด เพื่อ “ออกแบบการทำงานร่วม”ระหว่างสำนักขบวนฯกับสำนักงานภาค และขบวนจังหวัด